ขนาดใหญ่ที่สุดในจำพวกชะมดด้วยกัน สีพื้นของตัวค่อนข้างเป็นสีเทา หรือน้ำตาลปนเหลือง มีจุดดำอยู่ทั่วไป ที่ข้างคอมีแถบดำและขาวพาดผ่านเป็นแถบดำ 3 แถบ แถบขาว 2 แถบ จากไหล่ทั้งสองข้าง มีลายดำเป็นเส้นยาวไปถึงโคนหาง จากหัวถึงโคนหางมีขนสีดำตั้งขึ้น ที่หางมีลายเป็นปล้องสีขาวสลับดำ ปลายเท้าทั้งสี่มีสีน้ำตาลไหม้
พบในเนปาล อินเดีย พม่า ไทย จีนตอนใต้ ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย สำหรับประเทศไทยพบอยู่ทั่วทุกภาคโดยเฉพาะทางภาคใต้
กินไก่ นก หนู งู กบ เขียด ปลา ปู แมลง ไข่ของแมลง รวมทั้งผลไม้และหน่อพืชบางชนิด
ชอบอาศัยอยู่ตามป่าทึบ หรือทุ่งรก ๆ มักพบอยู่ตามพื้นดินมากกว่าอยู่บนต้นไม้ ขึ้นต้นไม้ไม่เก่ง ออกหากินตัวเดียว ออกหากินเวลากลางคืน กลางวันหลบนอนซ่อนตัวอยู่ตามที่รกทึบตามโพรงดินที่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุม
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
CLASS : Mammalia
ORDER : Carnivora
FAMILY : Viverridae
GENUS : Viverra
SPECIES : Large Indian Civet (Viverra zibetha)
สถานะภาพทางการอนุรักษ์ : สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์
ชะมดแผงสันหางปล้องเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว
แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 06 เมษายน 2560