ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน ปากยาวโค้งเล็กกลมสีดำ หัวและคอเป็นหนังเกลี้ยงสีดำ แต่เมื่อยังอ่อนอยู่ขนที่คอสีขาว ที่หัวมีขนบาง ๆ สีน้ำตาลแก่ เมื่อ โตขึ้น ขนจะค่อย ๆ บางลงจนเหลือแต่หนังสีน้ำเงินแก่หรือดำ นกกุลาขาวเป็นนกที่มีหางสั้นมาก ขาดำ ตาสีน้ำเงินดำ ขนทั่วตัวสีขาว
พบในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย และสหพันธรัฐรัสเซีย (รัสเซียเอเชียตะวันออก) บริเวณบึงน้ำจืด ทะเลสาบ แม่น้ำ ทุ่งหญ้าที่มีน้ำท่วม ทุ่งนา ลำธาร ป่าชายเลน บึงน้ำเค็ม และทะเลสาบชายฝั่ง
นกกุลากินหอย ปู ปลา กุ้ง และแมลงบางชนิด
มักอยู่เป็นฝูง ปกติเป็นนกเงียบไม่ส่งเสียง หากินตามหนองบึง หรือชายทะเลที่มีโคลน หากินปะปนกับนกอื่น เช่น นกยาง นกปากห่าง นกกระสา
1. เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 2. เป็นนกที่อยู่ในสถานภาพ ใกล้ถูกคุกคาม (Near Threatened: NT) จากการประเมินสถานภาพความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature: IUCN) หรือ IUCN Red List (2016)
CLASS : Aves
ORDER : Pelecaniformes
FAMILY : Threskiornithidae
GENUS : Threskiornis
SPECIES : Black-headed Ibis (Threskiornis melanocephalus)
นกกุลาผสมพันธุ์ฤดูฝน ประมาณเดือนสิงหาคม กันยายน มักทำรังรวมกันหลายรังบนต้นไม้เดียวกัน รังสร้างด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ ขัดสานกัน บนต้นไม้ที่ไม่ห่างจากบึงหนองมากนัก วางไข่ ครั้งละ 2 – 4 ฟอง เป็นนกที่มีน้อยและหายาก
เป็นนกขนาดกลาง
แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 11 เมษายน 2560