เต่าหับ/Southeast Asian Box Turtle (Cuora amboinensis)

สิ่งที่น่าสนใจ :

เป็นเต่าน้ําจืดขนาดเล็ก กระดองส่วนบนโค้งเป็นโดมสีน้ําตาลเข้ม หรือสีดํา กระดองส่วนล่างมีลักษณะเป็นบานพับ ทําให้สามารถหดหัว ขา และหางเข้ากระดอง และปิดกระดองได้สนิท หน้าและคอสีเหลือง ด้านบนหัวสีดํา และมีแถบสีดํา 3 แถบ ด้านข้างของหน้ากระดองส่วนล่างและเกล็ดขอบกระดองส่วนล่างสีเหลือง มีจุดสีดําที่ขอบด้านนอกของแผ่นเกล็ดแต่ละแผ่น

ถิ่นอาศัย :

พบในอินเดีย อินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สำหรับประเทศไทยพบมากแถวภาคกลางและภาคใต้ พบตามที่ชุ่มน้ําในที่ราบลุ่ม ได้แก่ หนองน้ํา ทุ่งนา ลําคลอง แม่น้ํา รวมทั้งลําธารบนภูเขา บางครั้งพบอยู่ไกลจากแหล่งน้ํามาก

อาหาร :

เต่าหับกินพืช ผัก ผลไม้ ปลา หอย ปู กุ้ง

พฤติกรรม :

ชอบอยู่ตามห้วย หนอง คลอง บึงทั่วไป ชอบอยู่บนบกมากกว่าอยู่ในน้ำ ชอบหมกตัวอยู่ตามกอหญ้า

สถานภาพปัจจุบัน :

สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์

วัยเจริญพันธุ์ :

เต่าหับผสมพันธุ์ในน้ำ แต่วางไข่บนบก ปีหนึ่งวางไข่หลายครั้ง ทว่าวางไข่ครั้งละ 2 - 3 ฟองเท่านั้น ระยะเวลาฟักไข่นาน 70 - 100 วัน

ขนาดและน้ำหนัก :

กระดองส่วนบนยาวเต็มที่ 22 เซนติเมตร

ข้อมูลอ้างอิง :

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานที่ชม :


แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 11 เมษายน 2560