เป็นชะมดขนาดใหญ่ คอค่อนข้างยาว ที่คอมีแถบขนสีขาวสลับดำคล้ายเป็นสายสร้อย ขนลำตัวมีสีเทาเข้ม น้ำตาล และสีเนื้อ บริเวณสีข้างต้นขา และขาหลังมีลายเป็นแถบต่อเนื่องกันสีเทา แต่ไม่เป็นจุดเหมือนในชะมดแผงสันหางดำ ด้านหลังคอมีแผงขนที่ตั้งขึ้นเป็นแถบสีดำวิ่งผ่านกลางหลังมายังโคนหาง หางมีลักษณะเป็นปล้องสีดำสลับขาว มีปล้องสีดำประมาณ 5 – 6 ปล้อง ขนที่ขาหน้าสีน้ำตาลเข้มกว่าขนที่ขาหลัง นอกจากนี้นิ้วที่ 3 และ 4 ของขาหน้าจะมีหนังหุ้มเล็บ ชะมดแผงสันหางปล้อง มีต่อมกลิ่นใกล้ทวารสร้างสารที่เรียกว่าน้ำมันชะมด ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันในกลุ่ม
ป่าธรรมชาติทั้งบนที่ราบ และภูเขา หรือป่าเสื่อมโทรม รวมทั้งสวนยาง การแพร่กระจาย ได้แก่ เนปาล สิกขิม ภูฐาน อัสสัม จีนใต้ พม่า ไทย อินโดจีน ไหหลำ สิงคโปร์ ถูกนำไปเลี้ยงในเกาะใน Andamon
สัตว์ขนาดเล็ก และสัตว์เลี้ยง รวมทั้งผลไม้ที่หล่นตามพื้นเป็นอาหาร จากการศึกษาอาหารของชะมดชนิดนี้ในกองมูลที่เก็บได้ในสวนยางพาราพบว่าชะมดแผงสันหางปล้อง กินผลไม้จำพวกกล้วย มะละกอ ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ป่าอื่นๆ รวมทั้งสัตว์หลายชนิด เช่น ตะขาบ แมงป่อง กิ้งกือ หอย ปู แมลง กบ กิ้งก่า งู ตะกวด นก หนู กระรอก
เป็นสัตว์ที่หากินตามลำพังในเวลากลางคืน และนอนหลับในเวลากลางวัน มักหากินตามพื้นดิน ชะมดแผงสันหางปล้องเพศผู้มีอาณาเขตครอบครองประมาณ 8.8 ตารางกิโลเมตร ส่วนเพศเมียมีพื้นที่ครอบครอง 1.9 – 6.8 ตารางกิโลเมตร และจะใช้พื้นที่ป่าผลัดใบมากกว่าป่าดิบแล้ง พบหลบนอนตามพื้นดินใกล้ห้วยแห้งขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังถ่ายมูลซ้ำที่เดิมเป็นประจำด้วย โดยชะมดแต่ละตัวจะมีพื้นที่ถ่ายมูลได้หลายแห่ง ส่วนใหญ่จะอยู่ใกล้ทางด่านสัตว์
สัตว์ป่าคุ้มครอง
มีฤดูผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี ส่วนมากระหว่างเดือน พฤษภาคมถึงมิถุนายน คลอดลูกครั้งละ 3 – 4 ตัว ลูกอ่อนยังไม่ลืมตา มีขนดำ ริมฝีปากบนและหูด้านในขาว และมีวงสีขาวที่หาง มีสร้อยคอขาวสองแถบเป็นสีจางไม่เด่นชัด
แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 06 เมษายน 2560