แตกต่างจากนกเขาเปล้าอื่นๆ ยกเว้นนกเข้าเปล้าแดง ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะไม่เหมือนกัน ตัวผู้มีขนบนกระหม่อมสีเทา หน้าอกสีเขียว บนหลังและปีกมีสีแดงเลือดนก ขนคลุมใต้โคนหางสีน้ำตาลแดง ปากสีเขียวอมเหลือง โคนปากสีแดง ขาแดง และหนังรอบตาสีฟ้า ส่วนตัวเมียมีหัวสีเขียวขนคลุมใต้โคนหางสีครีม มีลายแถบสีเขียว ปีกมีแถบสีเหลืองเล็ก ต้นขาสีเขียวเข้มมีลายขีดสีขาว
พบในทวีปเอเชีย แถบประเทศเนปาล จีน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา และประเทศไทย พบอยู่ทั่วทุกภาค ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ว ป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบเขา ป่าชายเลน และป่ารุ่น ในระดับความสูงที่ไม่มากนัก จนกระทั่งระดับความสูง 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล
นกเขาเปล้าชอบกินเมล็ดพืชและผลไม้ต่าง ๆ ที่สุก โดยเฉพาะลูกไทร และลูกหว้า
พบเป็นฝูงใหญ่ แต่ละฝูงประกอบด้วยนก 10-40 ตัว หรือมากกว่า บางฝูงมักพบเป็น 1,000 ตัว โดยเฉพาะช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ สามารถจับกิ่งไม้ซึ่งมีผลไม้สุก ๆ ได้ทุกแนว ไม่ว่าจะเป็นด้านบน ด้านล่าง และด้านข้าง ในขณะที่จับเกาะกิ่งไม้ผล มักจะมองไม่ค่อยเห็นตัวเพราะสีสันกลมกลืนกับใบไม้ เมื่อมีสิ่งรบกวนจึงบินขึ้นพร้อมกัน แต่ระยะไม่นานก็จะบินกลับมายังต้นเดิมอีก มักจะลงกินน้ำและโป่งในช่วงตอนกลางวันและตอนเย็น หรือหลังจากกินอาหารปกติแล้ว ในตอนเย็นมักเกาะพักผ่อนตามกิ่งไม้แห้งบริเวณยอดไม้ นกชนิดนี้ทำรังอยู่ตามต้นไม้เล็ก ๆ หรือตามพุ่มไม้
ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน หรือระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน ทำรังตามต้นไม้ ซึ่งอาจเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก หรือตามกอไผ่ ในแต่ละต้นอาจมี 2-3 รังอยู่ด้วยกัน รังจะอยู่สูงจากพื้นดินพอประมาณ วางไข่ครั้งละ 2 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ทั้งสิ้น 14-15 วัน
เป็นนกที่มีขนาดเล็ก (25-27 ซม.) นกเขาเปล้า เป็นนกเขาขนาดกลาง
แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 06 เมษายน 2560