ขนาดตัวใหญ่ หัวสั้นและแบน ส่วนของหัวกว้างใกล้เคียงกับลำคอ ส่วนปลายของหัวมน ตาค่อนข้างเล็ก สีลำตัวแปรผัน เช่นพื้นสีดำ มีลายคาดขวางสีครีมตลอดลำตัว หรือมีลำตัวสีเขียวอมเทา บางพื้นที่มีสีลำตัวน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม ไปจนถึงสีครีม และด้านหลังของคอมีลวดลายสีครีมหรือสีขาวเรียกว่า “ดอกจัน”
พื้นที่ราบลุ่มค่อนข้างชื้น หรือพื้นที่เกษตรกรรม แต่ยังพบได้ในพื้นที่ลักษณะต่างๆ รวมถึงชุมชนเมืองใหญ่ในกรุงเทพมหานครด้วย การกระจายพันธุ์: มีการแพร่กระจายทุกภาค พบน้อยในภาคเหนือ และอีสาน
นก หนู กบ เขียด ลูกไก่ แม้กระทั่งงู แต่จากประสบการณ์พบว่างูเห่าไทยจะชอบกินคางคกเป็นพิเศษ
งูเห่าไทยเป็นงูเห่าที่คนรู้จักกันมากที่สุดเนื่องจากเป็นงูที่มีชื่อเสียงในด้านความรุนแรงของพิษ และพบได้ไม่ยากนัก ออกหากินเวลาพลบค่ำตามพื้นดิน แต่สามารถว่ายน้ำหรือขึ้นต้นไม้ได้ดี
สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์
งูเห่าไทยไม่สามารถพ่นพิษได้แต่มีความรุนแรงของพิษสูงมาก ประกอบกับมีความชุกชุมสูง และเป็นงูที่ทำให้คนตายมากที่สุดในประเทศไทย (แต่ก็น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนคนที่ถูกงูเห่ากัด)
CLASS : Reptilia
ORDER : Squamata
FAMILY : Elapidae
GENUS : Naja
SPECIES : Monocled Cobra (Naja kaouthia)
สถานะภาพทางการอนุรักษ์ : สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์
งูเห่าไทยสืบพันธุ์โดยการวางไข่ครั้งละ 12 - 30 ฟองใช้เวลาฟักประมาณ 50 - 60 วัน โดยมักเริ่มวางไข่ตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคมถึงมีนาคม
200 เซนติเมตร
แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 11 เมษายน 2560