เป็นคางคกขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศไทย บริเวณหลังมีต่อมพิษเป็นปุ่มนูนชัดเจน ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ มีเสียงร้องคล้ายสุนัขเห่า จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “หมาน้ำ” หัวไม่มีสัน แต่มีสันเหนือแผ่นหู รูปร่างยาวและหนาจรดต่อมพิษ (Parotid glands) ที่อยู่บริเวณหลังตารูปร่างกลม แผ่นหูสีน้ําตาลเข้มปรากฏชัดเจนขนาดเล็กกว่าตา ผิวหนังเป็นปุ่มปม หลังสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ําตาลเทา ท้องสีขาวออกน้ําตาล โปรยด้วย จุดสีน้ําตาล เท้ามีพังผืดเต็มความยาวนิ้วและหนา เพศผู้มีถุงขยายเสียง ถูกล่าเพื่อใช้หนังตากแห้งผสมยาสูบ เชื่อว่าจะทำให้มึนเมาได้คล้ายกับกัญชา นิยมมากในประเทศฟิลิปปินส์
ป่าดิบชื้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยพบภาคเหนือ ตะวันตก และภาคใต้ อาศัยอยู่ตามลําธารในป่าดิบชื้น และตามถ้ําในพื้นที่ใกล้เคียง
แมลง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก
อาศัยอยู่ตามลำธารของป่าทึบเป็นส่วนใหญ่ ไม่ค่อยปรากฎ ตามสวนและตามบริเวณบ้านเรือน ดังนั้นถ้าพบเห็นปรากฎ ตัวตามบ้านเรือน ชาวภาคใต้จึงถือว่า “โชคดี” การสืบพันธุ์
สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์
CLASS : Amphibia
ORDER : Anura
FAMILY : Bufonidae
GENUS : Phrynoidis
SPECIES : Java Toad (Phrynoidis asper)
สถานะภาพทางการอนุรักษ์ : สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์
ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝน ถึงต้นฤดูหนาว ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงพฤศจิกายน ผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว
ความยาวจากหัวถึงก้น ประมาณ 137 มิลลิเมตร
แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 06 เมษายน 2560