กิ้งก่าขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศไทย ลำตัวสีเขียวแก่ หรือ เขียวสด ตะกองวัยรุ่นมีลายบั้งจางๆสีขาวตามตัว และจะหายไปเมื่อโตขึ้น เหนียงมีสีชมพูอ่อน หางมีแถบลายสีดำ
ป่าดิบชื้น ใกล้น้ำตก หรือ ลำธาร อาจพบได้บ้างตามสวนผลไม้ สวนยาง ใกล้ป่า พบได้ทางภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคอิสาน และภาคตะวันตก การแพร่กระจาย : พบได้ในป่าดิบเขา ความสูงตั้งแต่ 800 เมตรขึ้นไป ทางภาคอิสาน ภาคเหนือ และ ภาคตะวันตก
กินทั้งพืชและสัตว์ เช่น แมลง ปลา กบเล็กๆ ผลไม้ที่ร่วงตามต้น (มะละกอ)
มื่อตกใจตะกองจะรีบวิ่งหาที่ซ่อนโดยสามารถวิ่งสองขาได้ หรือโดดลงน้ำและสามารถดำใต้น้ำได้นานหลายนาที ออกหากินกลางวัน
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2562
CLASS : Reptilia
ORDER : Squamata
FAMILY : Agamidae
GENUS : Physignathus
SPECIES : Chinese Water Dragon (Physignathus cocincinus)
วางไข่ครั้งละ 10 - 12 ฟอง
แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 06 เมษายน 2560